วัดหน้าพระเมรุ ตั้งอยู่ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา

วัดหน้าพระเมรุ ตั้งอยู่ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ริมคลองสระบัวด้านเหนือของคูเมือง (แม่น้ำลพบุรีเก่า) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง มีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชการาม” แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด พิจารณาได้ว่า น่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง ในต้นสมัยอยุธยา เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมาก เพราะพม่าได้ไปตั้งกองบัญชาการอยู่ที่วัดนี้ พระอุโบสถเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาที่หลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อสำริดขนาดใหญ่ที่สุดที่ปรากฏและมีความงดงามมาก ด้านหลังพระอุโบสถยังมีอีกองค์หนึ่งแต่เล็กกว่า คือ พระศรีอริยเมตไตรย์

สิ่งสำคัญที่ปรากฏภายในวัดนี้ คือ พระอุโบสถและพระพุทธรูปประธานทรงเครื่องใหญ่ ซึ่งคงสร้างขึ้นราวรัชกาลของพระเจ้าปราททอง หน้าบันของพระอุโบสถเป็นไม้แกะสลักปิดทองที่แสดงรูปพระนารายณ์ทรงครุฑแวดล้อมด้วยเหล่าเทวดา คติดังกล่าวเป็นที่นิยมในสมัยโบราณที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ คือเป็นพระนารายณ์อวตาร ดังนั้น หน้าบันของโบสถ์ วิหาร หรือปราสาทราชวังที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือทรงบูรณะก็มักจะทำรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเป็นสำคัญ อันมีความหมายว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดหลวง

สำหรับพระพุทธรูปประธานทรงเครื่องใหญ่ก็สร้างในคติของพระพุทธเจ้าาปางโปรดพญามหาชมพู ตามความในมหาชมพูบดีสูตร ซึ่งเป็นรูปแบบของพระพุทธรูปที่นิยมมากในสมัยอยุธยาตอนกลางต่อลงมาจนถึงสมัยรันตโกสินทร์ตอนต้น พระพุทธรูปองค์นี้อาจเปรียบเทียบได้กับพระพุทธรูปทรงเครื่องภายในเมรุทิศเมรุรายของวัดไชยวัฒนารามที่สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าปราททองได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงอนุมานได้ว่าพระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุก็คงจะสร้างขึ้นในช่วงเวลานั้นด้วยเช่นกัน

ทางทิศตะวันออกของพระอุโบสถมีวิหารน้อยที่สร้างขึ้นโดยพระยาชัยวิชิต (เผือก) ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีรูปแบบลอกเลียนมาจากพระอุโบสถ แต่ลดขนาดให้เล็กลงกับทั้งเปลี่ยนหน้าบันให้เป็นลายพรรณษาตามความนิยมของศิลปะในช่วงนั้น ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปแบบทวาราวดีขนาดใหญ่ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุ อยุธยา

เชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้แต่เดิมคงประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดนครปฐมมาก่อน และได้ย้ายมายังวัดมหาธาตุ อยุธยา ราวรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็เป็นได้ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปศิลาประทับนั่งห้อยพระบาทที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน นับเป็น 1 ใน 6 องค์ ที่มีอยู่ในประเทศไทย จึงนับเป็นสิ่งที่มีค่ามาก

ข้าง ๆ พระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ ยังมีวิหารน้อยหรือวิหารเขียน ซึ่งมีภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องการค้าสำเภาและพุทธชาดกต่าง ๆ แล้วยังมีพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทสมัยทวารวดีขนาดใหญ่ สลักจากหินปูนสีเขียวแก่ เรียกว่า “หลวงพ่อคันธารราฐ” ซึ่งมีอยู่ไม่กี่องค์ในเมืองไทยเวลานี้ ความเก่าแก่นั้นกล่าวได้ว่าเก่าแก่สมัยสุโขทัย ไล่เลี่ยกับยุคสมัยของบูโรพุทโธ หรือบรมพุทโธ บนเกาะชวาในอินโดนีเซียเมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว

เจดีย์ราย 3 องค์ ที่มีรากไทรแผ่เข้าครอบคลุม ด้านหลังพระอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุ น่าจะคุ้นตาสำหรับผู้ที่เคยเห็นภาพวาดกรุงศรีอยุธยาในหนังสือของ อังรี มูโอต์ นักสำรวจชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามา ในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5

หลวงพ่อพระร่วงทองคำ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ วัดมหรรณพารามวรวิหาร

หลวงพ่อพระร่วงทองคำ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดมหรรณพารามวรวิหาร แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานครฯ องค์พระเป็นโลหะทองคำ (60 เปอร์เซนต์) มีรอยต่อ 9 แห่ง โดยมีหมุดเป็นเครื่องเชื่อมรอยต่อ ซึ่งเป็นเครื่องหมายถึงความเจริญก้าวหน้า เป็น

พระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะงดงามมากองค์หนึ่งในประเทศไทย

พระร่วงทองคำ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดโคกสิงคาราม อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สร้างในรัชสมัยใดไม่ปรากฏ แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

การอัญเชิญลงมากรุงเทพ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนรังสี (พระองค์เจ้าอรรณพ) พระราชโอรสในรัชกาลที่ 3 ได้ทรงสร้างวัดมหรรณพาราม เมื่อปี พ.ศ. 2393 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์สมเด็จพระบรมชนกนารถ (รัชกาลที่ 3) ในขณะทำดำเนินการก่อสร้างวัด เป็นระยะเวลาที่องค์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรใกล้จะเสด็จสวรรคต พระองค์เจ้าอรรณพจึงทรงเร่งรัดให้มีการจัดงานเฉลิมฉลองวัด รวมทั้งอัญเชิญพระประธานคือ “หลวงพ่อร่วง” จากเมืองสุโขทัยมาประดิษฐาน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ก่อนที่สมเด็จพระชนกนารถจะเสด็จสวรรคต (ซึ่งรัชกาลที่ 3 ได้เสด็จสวรรคตในปีถัดมาคือ พ.ศ. 2394)

แต่กระบวนอัญเชิญหลวงพ่อร่วงจากสุโขทัยไม่สามารถดำเนินการได้ลุล่วงทันตามประสงค์พระองค์เจ้าอรรณพ จึงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปปูนปั้นในพระอุโบสถมาเป็นพระประธานแทนไปก่อน ถัดจากนั้นอีก 3 เดือน เมื่อเตรียมการทุกอย่างพร้อมสรรพจึงได้อัญเชิญหลวงพ่อร่วง มาประดิษฐานเป็นพระประธานภายในพระวิหารได้สำเร็จดังที่ทรงตั้งพระทัยไว้แต่เดิม

พุทธลักษณะ พระร่วงทองคำ เป็นพระพุทธรูปแบบสุโขทัย ขนาดหน้าตัก กว้าง 1 วา 1 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สูง 1 วา 3 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว องค์พระเป็นโลหะทองคำ มีรอยต่อ 9 แห่ง โดยมีหมุดเป็นเครื่องเชื่อมที่รอยต่อ ชุกชีที่ประดิษฐานยาว 2 วา 1 ศอก 7 นิ้ว กว้าง 2 วา 2 ศอก ถัดจากฐานขึ้นไปเรียกว่า บัลลังก์ ทำเป็นลายดอกบัวคว่ำบังหงาย และดอกไม้เครือกระจังลงรักปิดทอง ประดับด้วยกระจกสีต่าง ๆ