รถมินิมีโครงแบบโมโนค็อก

หน้าต่างเป็นหน้าตาบานเลื่อนอยู่ในประตู และยังมีที่เก็บของเล้ก ๆ ในพื้นที่ที่เป็นกลไกลหมุนของหน้าต่าง อิซซิโกนิสพูดว่า ขนาดของพื้นที่เก็บของมาจากความต้องการจะเก็บขวดกอร์กินที่เขาชื่นชอบบนรถ ส่วนฝากระโปรงท้ายรถก็ใช้วิธีติดบานพับไว้ที่ด้านล่าง ทำให้สามารถเปิดฝาท้ายไว้เหมือนรถกระบะเพื่อให้รถสามารถบรรทุกสัมภาระได้มากขึ้น การผลิตรถในช่วงแรกป้ายทะเบียนรถจะมีบานพับ และจะทำให้เห็นว่ากระโปรงรถเปิดไว้ แต่การออกแบบนี้ก็ไม่ได้ผลิตต่อเนื่องจากพบว่าอาจทำให้แก๊สไหลมาที่ที่นั่งคนขับได้เมื่อกระโปรงรถเปิด

รถมินิมีโครงแบบโมโนค็อก ใช้วิธีการเชื่อมรอยต่อจากภายนอกซึ่งจะเห็นรอยเชื่อมโลหะเป็นแนวตะเข็บจากข้างนอกตัวรถที่เสา A-pillar และ C-pillar และระหว่างตัวรถและพื้นรถที่จะเป็นรอยต่อ เพื่อให้ง่ายต่อการสร้างตัวจับยึดชั่วคราวเพื่อเชื่อมชิ้นส่วนในกระบวนการผลิต ส่วนประกอบเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าจะใช้ขนาดที่น้อยที่สุดแต่ได้พื้นที่ภายในที่มากที่สุดสำหรับผู้โดยสารและสัมภาระ

หุ่นจำลองจะดูแตกต่างจากรถต้นแบบ โดยมีการเพิ่มซับเฟรมที่ด้านหน้าและด้านหลัง ถึงยูนิบอดี้ให้รับแรงสะเทือนได้และการเข้าโค้ง โดยมีการย้ายตำแหน่งคาร์บูเรเตอร์ให้ไปอยู่ข้างหลังแทนที่จะเป็นด้านหน้าตามรถต้นแบบ แต่ก็ทำให้ชุดจานจ่ายไฟ ถูกจับหันออกด้านหน้าปะทะกับลมและน้ำเวลาฝนตก นอกจากนี้ยังต้องการปรับเปลี่ยนเฟืองพิเศษเพื่อที่จะวางเครื่องและสายพานในทางทิศทางตรงข้ามกับเครื่องยนต์ต้นแบบ การลดเฟืองทำให้มีประสิทธิภาพของน้ำหนักในกล่องเฟืองและช่วยป้องกัน ชุดเฟืองความฝืด ที่เป็นปัญหาในรถแม่แบบช่วงแรก ขนาดเครื่องยนต์ลดจาก 948 เป็น 848 ซีซี ที่ลดความเร็วสูงสุดจาก 90 ไมล์/ชม. (145 กม./ชม.) ให้ควบคุมได้ที่ ไมล์/ชม.(116 กม./ชม.)

ถึงแม้ว่ารูปทรงจะมาจากประโยชน์ใช้สอย แต่รถมินิก็ได้เป็นสัญลักษณ์ที่คลาสสิก โรเวอร์กรุ๊ป เจ้าของบีเอ็มซี ได้จดรูปแบบการออกแบบให้ฐานะยี่ห้อสินค้า

รถยนต์ ยานพาหนะทางบกที่ขับเคลื่อนที่ด้วยพลังงาน

รถยนต์ หมายถึง ยานพาหนะทางบกที่ขับเคลื่อนที่ด้วยพลังงานอย่างใดอย่างหนึ่งและถ่ายทอดลงสู่ล้อ เพื่อพาผู้ขับ ผู้โดยสาร หรือสิ่งของ ไปยังจุดหมายปลายทาง ปัจจุบัน รถยนต์โดยส่วนมากได้รับการออกแบบอย่างซับซ้อนในทางวิศวกรรม และหลากหลายประเภท ตามความเหมาะสมของการใช้งาน หรือใช้สำหรับงานเฉพาะกิจ ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ ก่อนช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ยานพาหนะของผู้คนในสมัยนั้น ยังคงอาศัยแรงของสัตว์ เช่น รถม้า หลังจากมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้มีการประยุกต์ใช้แรงดันไอน้ำมาขับเคลื่อนเป็นยานพาหนะแบบใหม่ที่ไม่ต้องอาศัยแรงของสัตว์

คาร์ล เบนซ์ วิศวกรชาวเยอรมันได้สร้างรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เพลิงเผาไหม้คันแรกของโลกได้สำเร็จ โดยใช้โครงสร้างแบบลูกสูบเหมือนของเครื่องจักรไอน้ำ เพียงแต่ได้เพิ่มอุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนเชื้อเพลิงในรูปของเหลวให้กลายเป็นก๊าซ และเพิ่มวาล์วไอดีไอเสีย ในรูปแบบของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ปัจจุบันรถยนต์ใช้ระบบเครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน เครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงในยุคแรกๆ นั้น ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิง รูดอล์ฟ ดีเซล พยายามคิดค้นพลังงานอื่นมาใช้กับเครื่องยนต์ จนสำเร็จเป็นเครื่องยนต์ดีเซล

ประเทศไทยเริ่มมีรถยนต์ใช้ในช่วงปี พ.ศ. 2446 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยชาวต่างชาติเป็นคนนำเข้ามาภายในประเทศซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นไทยได้เริ่มมีอุตสาหกรรมรถยนต์โดยใช้ชื่อบริษัทว่า ไทยรุ่ง ยูเนี่ยนคาร์